QR-Code
สแกนคิวอาร์โค๊ดด้านบนหรือ
คลิ๊กปุ่มด้านล่างได้เลยค่ะ
เพิ่มเพื่อน
ปิด
บทความ
รายการบทความล่าสุด คลิ๊กที่นี่ หากต้องการดูทั้งหมด
ฝึกลูกนั่งอย่างถูกวิธี

ฝึกลูกนั่งอย่างถูกวิธี

           เมื่อถึงช่วงวัยหนึ่ง ๆ เด็กน้อยก็จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น โดยพัฒนาการที่เห็นได้อย่างง่ายดาย คือการเริ่มคว่ำ เริ่มชูคอ จนถึงการนั่ง และการนั่งนี่แหละค่ะ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นเต้นกับพัฒนาการในขั้นนี้  หากไม่มีปัญหาเรื่องสภาพร่างกาย เด็กที่พัฒนาเป็นไปตามวัยจะเริ่มนั่งได้ตั้งแต่อายุ 4-7 เดือน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวพ่อแม่ยังต้องคอยช่วยเหลือโดยการพยุงหรือจับตัวเด็กให้นั่ง ทว่าเมื่อก้าวเข้าสู่เดือนที่ 8 เด็กจะเริ่มนั่งด้วยตนเองได้มากขึ้น แต่ก็ยังต้องมีการพยุงเอาไว้เล็กน้อย เพื่อปรับร่างกายของเขาอย่างเหมาะสม 

     แม้จะบอกว่าลูกสามารถเริ่มหัดนั่งด้วยตนเองได้ตั้งแต่อายุ 5 เดือน แต่พ่อแม่ก็สามารถเริ่มต้นฝึกลูกนั่งได้เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3-4 โดยการฝึกให้ลูกพลิกตัวได้เองก่อน แม้กระดูกหลังหรือคอยังไม่ค่อยแข็งแรงนักก็อย่าตกใจ เพียงแค่ประคองและโอบลูกน้อยเอาไว้ มันจะช่วยเสริมพัฒนาการทางร่างกาย และเป็นการฝึกให้เขาเริ่มทำท่าทางอื่น ๆ นอกจากการนอน  วิธีการฝึกลูกนั่งมีดังนี้

  1. ให้ลูกนอนคว่ำ  โดยให้คุณแม่จับลูกนอนคว่ำในช่วงเวลาที่ลูกตื่นอยู่ เพราะจะเป็นการช่วยให้ลูกมีกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อท้อง และกล้ามเนื้อหลังที่แข็งแรงขึ้น  ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกเริ่มยกศรีษะขึ้นได้ รวมถึงการยกไหล่ได้มากขึ้นด้วย โดยเป็นพื้นฐานที่ดี ที่จะพัฒนาไปสู่การลุกนั่งได้เองต่อไป
  2. หากลูกไม่ชอบการนอนคว่ำตัวคนเดียวให้นำมาทารกมานอนคว่ำบนตัวคุณแม่ และเล่นกับลูกให้พยายามยกศรีษะขึ้นมาค่ะ อีกทั้งสามารถใช้หมอนหนุนอกให้ศรีษะเหนือกว่าพื้นได้ และเมื่อลูกสามารถควบคุมศรีษะได้แล้วให้จับทารกประคับประคองลองนั่งโดยมีหมอนกันหลังไว้ไม่ให้ล้ม
  3. เมื่อลูกสามารถควบคุมศีรษะให้ยกขึ้นได้อย่างมั่นคงแล้ว คุณแม่ก็อาจจะฝึกลูกให้นั่งโดยคุณแม่ประคองหรือ ใช้หมอนมาหนุนรอบตัวลูกรวมทั้งหนุนที่หลังลูกด้วย เพื่อให้ลูกอยู่ในท่านั่งได้นานขึ้นและเป็นการฝึกให้ลูกเกิดความเคยชิน สามารถลุกนั่งได้เองและนั่งได้ดีขึ้นต่อไป
  4. ฝึกความทรงตัว   การฝึกตรงนี้คือการฝึกทารกให้เข้าใจสมดุลของร่างกายในการทรงตัวตนเองค่ะ โดยเริ่มจากการให้นำทารกมานั่งบนพื้นโดยเรานั่งกับทารกและลูกอยู่ระหว่างขาของเราในท่าขัดสมาธิ เพื่อให้ทารกรู้สึกปลอดภัยในการทรงตัวนั่งด้วยตัวเอง จากนั้นใช้มือช่วยจับทารกให้เขาทรงตัวด้วยตัวเองโดยทารกอาจใช้มือดันพื้นเพื่อช่วยพยุงตัว และเริ่มปล่อยมือจากทารกโดยฝึกฝนไป เรื่อยๆจนกว่าทารกจะสามารถนั่งได้นานมากขึ้น
  5. ฝึกลูกให้ลุกขึ้นนั่ง  การจับแขนและค่อยๆ ดึงตัวลูกลุกขึ้นมานั่ง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกลุกนั่งได้ง่ายขึ้น โดยให้คุณแม่จับลูกหันหลังให้แม่ ใช้ขามาหนีบขาลูกไว้แล้วจับแขนลูกให้ลุกขึ้น เหมือนท่าลุกนั่งในผู้ใหญ่ แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังด้วย และควรทำเมื่อลูกน้อยมีอายุ 5 เดือนขึ้นไปเท่านั้น
  6. ใช้เก้าอี้หัดนั่ง ข้อนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อลูกสามารถพลิกคว่ำได้และพยายามลุกนั่งได้เองแล้วนะคะ แต่อาจจะมีโอนเอนบ้าง ซึ่งเก้าอี้หัดนั่งนี้จะเป็นการฝึกลูกให้นั่งหลังตรงได้มากยิ่งขึ้น เพราะกระดูกของเด็กยังอ่อน หากไม่ได้รับการฝึกนั่งอย่างถูกต้องอาจส่งผลให้ลูกหลังค่อม และเสียบุคลิกได้เมื่อโตขึ้น คุณแม่อาจใช้เก้าอี้หัดนั่ง สลับกับการพาลูกนั่งตักหรือนั่งบนพื้นก็ได้ค่ะ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้ลูก แต่ทั้งนี้บางแบรนด์ก็ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับสรีระของลูกน้อยมากนัก ก่อนตัดสินใจซื้ออาจต้องพิจารณาให้ละเอียดสักหน่อย